ธรรมาภิบาลข้อมูล
หน้าแรก / ธรรมาภิบาลข้อมูล
การดำเนินงานธรรมาภิบาลข้อมูล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เพื่อให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องตามนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Policy) และ สามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กําหนดรายละเอียด
พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กำหนดให้ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ และ การทำงานให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมี ธรรมาภิบาล และให้หน่วยงานของรัฐจัดทำและดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับ หน่วยงาน โดยมีประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่องธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม 2563
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่คำนึงถึงความสำคัญของข้อมูล จัดเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่สำคัญ และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามสถานการณ์ด้านการบริหารจัดการข้อมูล และ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลของมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันนั้นยังมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการเปิดเผยข้อมูล ด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และ ด้านคุณภาพของข้อมูล สาเหตุของปัญหานั้นอาจมาจากการขาดแนวทางธรรมาภิบาลข้อมูล การบริหารจัดการข้อมูลทั้งวงจรชีวิตของข้อมูล ขาดการบูรณาการข้อมูล ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านข้อมูล และนำมาซึ่งการนำข้อมูลไปใช้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดทำ แนวปฏิบัติธรรมาภิบาลข้อมูล ที่สามารถนำไปใช้กำกับ ดูแล และบริหารจัดการข้อมูลของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขั้นตอนได้อย่างเป็นระบบและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
คู่มือธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Procedure)
- 1. โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Structure)
- 2. ความรู้และความตระหนักด้านธรรมาภิบาลข้อมูลในองค์กร
- 3. กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Process)
- 4. การกำหนดหน้าที่ตามกระบวนธรรมาภิบาลข้อมูล
- 5.การประเมินผลธรรมภิบาลข้อมูลภาครัฐ

คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รายชื่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะบริกรข้อมูล (Data Steward Team )
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รายชื่อคณะบริกรข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูล (Data Stakeholder)
-
-
- เจ้าของข้อมูล (Data Owner)
- ผู้สร้างข้อมูล (Data Creator)
- ผู้ใช้งานข้อมูล (Data User)
-
คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลานครินท์
(1) อนุมัตินโยบายและแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Policy & Procedure)
(2) วางแผนกลยุทธ์เป้าหมายและแผนการดำเนินการเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูล
(3) พิจารณา ทบทวน และประเมินประสิทธิภาพของนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล รวมถึงแนวปฏิบัติ กระบวนการ และมาตรฐานประกอบนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Policy) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
(4) กํากับดูแล ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล หรือมาตรฐานที่กําหนด ให้คําปรึกษาและตัดสินประเด็นสําคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
(5) ดูแลและสนับสนุนให้มีการสื่อสารกับบุคลากรในองค์กรให้ตระหนักถึงความสําคัญของข้อมูล การใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงด้านข้อมูล สร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล และให้ข้อมูลมีคุณภาพ ใช้งานได้ประโยชน์สูงสุด
คณะบริกรข้อมูล (Data Steward Team)
(1) มาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับในข้อมูลความเชื่อธรรมาภิบาล
(2) รักษาและส่งเสริมการควบคุมแก่ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติในข้อมูลข่าวสาร
(3) ดูแลส่วนงานในการปฏิบัติงานให้ดำเนินการและแนวปฏิบัติในการเก็บข้อมูล
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูล (Data Stakeholder) นอกเหนือจากคณะกรรมการประกอบด้วย ซึ่งทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการกำกับดูแลข้อมูลต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล เจ้าของข้อมูล
ผู้ดูแล ข้อมูล ผู้ใช้งาน ผู้สร้างข้อมูล มีหน้าที่
เจ้าของข้อมูล (Data Owner)
(1) มีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลโดยตรง สร้างความมั่นใจว่าการบริหารจัดการข้อมูลสอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐาน กฎระเบียบ หรือกฎหมาย
(2) มีหน้าที่ในการทบทวนและร่วมกันอนุมัติการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
(3) ระบุสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลและจัดชั้นความลับของข้อมูลเพื่อให้คณะกรรมการธรรมภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ อนุมัติ
(4) ดำเนินงานตรวสอบคุณภาพข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับคณะบริกรข้อมูล
(5) เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของผู้ใช้ข้อมูล
ผู้สร้างข้อมูล (Data Creator)
(1) มีหน้าที่ในการบันทึก แก้ไข ปรับปรุง หรือลบข้อมูลให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่ถูกกำหนดไว้
(2) ทำงานร่วมกับคณะบริกรข้อมูล เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพข้อมูล และความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
ผู้ใช้งานข้อมูล (Data User)
(1) นำข้อมูลไปใช้งานทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร
(2) สนับสนุนการกำกับดูแลข้อมูลโดยการให้ความต้องการในการใช้ข้อมูล
(3) รายงานประเด็นปัญหาที่พบระหว่างการใช้ข้อมูล ทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยของข้อมูลไปยังบริกรข้อมูล

2.1 จัดกิจกรรมการอบรมและพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลข้อมูล (Training Program) ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยมีการวัดประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดขึ้นเป็น
รายปี
2.2 จัดกิจกรรมในการเสริมสร้างความตระหนัก (Awareness Program) ด้านธรรมาภิบาลข้อมูลแก่บุคลากรทุกระดับและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีแผนงานที่ชัดเจนต่อเนื่อง และวัดผลได้ รวมถึงมีการทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ
กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เป็นขั้นตอนที่ใช้สําหรับกํากับดูแลการดำเนินการใด ๆ ให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
3.1 การวางแผน เริ่มตั้งแต่กําหนดวิสัยทัศน์และประเด็นปัญหา ซึ่งเป็นส่วนที่สําคัญเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่จะกําหนด กฎระเบียบ นโยบาย มาตรฐาน หรือแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อใช้ในธรรมาภิบาลข้อมูล และการบริหารจัดการข้อมูล หลังจากที่ได้มีการกําหนดวิสัยทัศนและประเด็นปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการกําหนดขอบเขตการดําเนินการ ระยะเวลาดําเนินการ บุคคลที่เกี่ยวข้องและต้นทุนที่ใช้ในการดําเนินงาน หลังจากนั้นนำแผนงาน กฎระเบียบ และนโยบายที่เกี่ยวข้องไปประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
3.2 การปฏิบัติ ต้องดําเนินการให้สอดคล้องกับ กฎ ระเบียบ นโยบาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้
3.3 การตรวจสอบ วัดผลและรายงาน ดําเนินการตรวจสอบความสอดคล้องกันระหว่างกฎ ระเบียบ นโยบาย และมาตรฐานที่กำหนด กับการปฏิบัติงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลพร้อมทั้งทำการวัดผลด้านคุณภาพข้อมูล หลังจากนั้นรายงานผลความสอดคล้อง คุณภาพข้อมูล ความมั่นคงปลอดภัย และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลไปยังคณะกรรมการธรรมภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานและประเด็นปัญหาที่พบ
3.4 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุง นิยาม นโยบาย กระบวนธรรมาภิบาลข้อมูล และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เกณฑ์การประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลเกณฑ์การวัดระดับคุณภาพข้อมูล และโครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูล
รูปที่ 1 กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูล
ที่มา: กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (สพร.)
จากรูปที่ 1 สามารถอธิบาย กระบวนการทำงานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อ้างอิงขั้นตอนจากสพร. ตั้งแต่
1. ทีมบริกรข้อมูล (Data Stewards) ทั้งด้านธุรกิจและด้านเทคนิค เป็นผู้ร่างนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Policy) ให้สอดคล้องกับกฎหมาย หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. นำเสนอคณะกรรมการธรรมภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ พิจารณาอนุมัตินโยบาย เพื่อควบคุมให้เจ้าของข้อมูล (Data Owners) และผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูลอื่น ๆ (Data Stakeholders) มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามนโยบายข้อมูลที่กำหนดไว้
3. ทีมบริกรข้อมูลจะเป็นผู้ตรวจสอบการดำเนินงานตามนโนบายและจัดทำผลการตรวจสอบพร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
4. รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการธรรมภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์
5. คณะกรรมการธรรมภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ ดำเนินการพิจารณาผลการตรวจสอบ เพื่อเห็นชอบและนำมาปรับปรุงตามที่เสนอ
ตารางที่: 5 ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการส่วนนำเข้า ส่วนนำออก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Process |
ทรัพยากรหรือข้อมูลตั้งต้น |
Output |
ผู้รับผิดชอบ |
การวางแผน(Plan) |
1. กฎระเบียบ นิยาม นโยบายมาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติต่าง ๆ |
1. กลยุทธ์ธรรมาภิบาลข้อมูล |
1. คณะกรรมการธรรมภิบาลข้อมูล มหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ |
การปฏิบัติ (Do) |
1. กลยุทธ์ธรรมาภิบาลข้อมูล |
1. รายงานความก้าวหน้าใน การปฏิบัติงาน |
1. ทีมบริกรข้อมูล |
การตรวจสอบวัดผล และรายงาน (CheckMeasure & Report) |
1. นิยาม นโยบาย กระบวนการ มาตรฐาน ข้อกําหนดธรรมาภิบาลข้อมูล |
1. ตรวจสอบ วัดผล รายงาน และติดตามผล การดําเนินงาน |
1. ทีมบริกรข้อมูล |
การปรับปรุง (Act &Improvement) |
1. นิยาม นโยบาย กระบวนการ มาตรฐาน แนวปฏิบัติ และ ข้อกําหนดธรรมาภิบาลข้อมูล |
1. การปรับปรุงนโยบาย กระบวนการ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูล |
1. คณะกรรมการ ธรรมาภิบาลข้อมูล |
ตารางที่: 6 ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ กิจกรรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หมายเหตุ : R=Responsible ปฏิบัติการหลัก ตามกระบวนการหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้
S=Supportive ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน
A=Accountable ทบทวน เห็นชอบ อนุมัติผลที่ได้
C=Consulted ให้คำปรึกษาต่อผู้ปฏิบัติการ
I=Informed รับทราบผลการปฏิบัติการ




ทีมบริกรข้อมูล ควรทำการประเมินเพื่อระบุประเด็นที่จะต้องดำเนินการด้านธรรมาภิบาลข้อมูลให้ครบถ้วน (Gap Analysis) ประเมินติดตามผลการดำเนินการ และระบุสิ่งที่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนในแผนการดำเนินงาน ทั้งนี้ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างน้อยทุก 6 เดือน และปรับปรุงแผนและประเด็นการทำงานอย่างน้อยทุก 1 ปี รายงานไปยังคณะกรรมการธรรมภิบาลข้อมูลมหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์
การดําเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นการประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นถึงสถานะปัจจุบัน และความก้าวหน้าในการดําเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของ ม.อ. ซึ่งผลของการดําเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลจะส่งผลถึงความสําเร็จของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ประกอบด้วย 5 ด้าน
1) โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
2) กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
3) นโยบายและการตรวจสอบ
4) การประเมินคุณภาพของข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
5) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและมูลค่าเชิงธุรกิจ ระดับ ความพร้อมที่สูงควรจะสะท้อนถึงความ สําเร็จที่สูง
การประเมินผลธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ควรดําเนินการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ ให้รายงานผลการประเมินไปยังคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ